เมนู

แล้วละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ 9 อย่างที่บรรณศาลานั้น ท่านแสดงไว้ว่า
สุเมธบัณฑิตนั้น เมื่อละผ้าสาฎกได้เห็นโทษ 9 อย่างจึงละ.

ว่าด้วยผ้าสาฎกมีโทษ 9 อย่าง



จริงอยู่ โทษ 9 อย่าง ย่อมปรากฏแก่บรรพชิตผู้บวชเป็นดาบส คือ
1. ผ้านั้นมีค่ามาก 2. ผ้าที่มีผู้อื่นหวงแหน 3. ผ้าที่ใช้แล้วเปื้อนง่ายเพราะ
เปื้อนแล้วต้องซักต้องย้อม 4. ผ้าคร่ำคร่าแล้วด้วยการใช้ เพราะว่าเมื่อขาด
แล้วต้องชุนต้องปะ 5. ผ้าใหม่ที่หาได้ยากเพราะต้องแสวงหา 6. ผ้าที่ไม่
สมควรแก่การบวชเป็นฤาษี 7. ผ้าที่มีทั่วไปแก่เหล่าข้าศึก เพราะต้องคุ้มครอง
รักษา 8. ผ้าที่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย 9. ผ้าที่มีผู้ต้องการมากเป็น
ของใช้ประจำตัวสำหรับเที่ยวไป.

ผ้าคากรองมีอานิสงส์ 12 อย่าง



คำว่า วากจิรํ นิวาเสสึ (นุ่งห่มผ้าคากรอง) ความว่า ดูก่อนสารีบุตร
ในกาลนั้น เราเห็นโทษ 9 อย่างเหล่านั้น จึงละผ้าสาฎกแล้วนุ่งผ้าคากรอง คือ
ถือเอาผ้าคากรองที่บุคคลฉีกหญ้ามุงกระต่ายเป็นริ้ว ๆ แล้วทอ เพื่อสำหรับ
นุ่งห่ม. คำว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ (ประกอบด้วยคุณ 12 ประการ) ความว่า
ประกอบด้วยอานิสงส์ 12 ประการ. จริงอยู่ ผ้าคากรองมีอานิสงส์ 12 อย่าง
คือ
เป็นผ้ามีค่าน้อยดี เป็นของควร นี้
เป็นอานิสงส์ข้อแรกก่อน สามารถเพื่อทำ
ได้ด้วยมือของตน นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 2
ใช้แล้วค่อย ๆ เปื้อน แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้

เป็นอานิสงส์ที่ 3 แม้เก่าเพราะการใช้สอย
ก็ไม่ต้องเย็บ นี้เป็นอานิสงส์ที่ 5 เมื่อแสวง
หาอีกก็ทำได้ง่าย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 5
สมควรแก่การบวชเป็นดาบส นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่ 6 พวกข้าศึกไม่ใช้ นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่ 7 ไม่ใช่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 8 เป็นของเบาในเวลา
ครอง นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 9 เป็นของผู้มี
ความปรารถนาน้อยในจีวรเป็นปัจจัย นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ 10 ความไม่มีโทษของผู้ทรง
ธรรม เพราะเกิดแต่เปลือกไม้ นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่ 11 แม้เมื่อผ้าคากรองพินาศไปก็ไม่อา-
ลัย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 12.

บทคาถาว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ปชหํ ปณฺณสาลกํ แห่งคาถาว่า
อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ปชหึ ปณฺณสาลกํ
อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณหิ ทสหุปาคตํ
ดังนี้
ถามว่า สุเมธบัณฑิต ละผ้านั้นได้อย่างไร ?
ตอบว่า นัยว่า สุเมธบัณฑิตนั้นเมื่อจะเปลื้องผ้าสาฎกทั้งคู่นั้น ถือเอา
ผ้าคากรองที่ย้อมแล้ว เช่นกับพวงดอกอังกาบ ซึ่งพาดอยู่ที่ราวจีวร นุ่งแล้ว
ก็ห่มผ้าคากรองมีสีเหมือนสีทองคำอีกผืนหนึ่งทับผ้านุ่งนั้น แล้วทำหนังเสือ
เหลืองมีกีบเท้าเช่นกับสัณฐานดอกบุนนาค ให้เป็นผ้าอยู่บนบ่าข้างหนึ่ง แล้ว
สวมใส่มณฑลชฎา สอดหมุดแข็งกับมวยผม เพื่อต้องการทำให้ไม่หวั่นไหว

แล้วตั้งเต้าน้ำมีสีดังแก้วประพาฬไว้ในสาแหรกเช่นกับข่ายแก้วมุกดา แล้วถือ
เอาไม้คานอันคดในที่สามแห่ง แล้วคล้องเต้าน้ำไว้ที่ปลายไม้คานข้างหนึ่ง
คล้องไม้ขอกระเช้าและไม้สามขาเป็นต้นไว้ที่ปลายไม้คานข้างหนึ่ง แล้วหาบ
เครื่องบริขารขึ้นบ่า ถือไม้เท้าคนแก่ด้วยมือข้างขวา ออกจากบรรณศาลา
จงกรมไปมาในที่จงกรมใหญ่ยาวประมาณ 60 ศอก แลดูเพศของตนแล้วเกิด
ความอุตสาหะขึ้นว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว บรรพชาของเรางามหนอ
ก็ชื่อว่าบรรพชานี้ วีรบุรุษทั้งปวงมีพระพุทธเจ้าและปัจเจกพุทธะสรรเสริญแล้ว
ชมเชยแล้ว เครื่องผูกของคฤหัสถ์เราละได้แล้ว เราออกบวชแล้ว เราได้
บรรพชาอันสูงสุดแล้ว เราจักทำสมณธรรม เราจักได้ความสุขในมรรคและผล
ดังนี้ ยกหาบบริขารลงแล้ว นั่งลงที่แผ่นศิลามีสีดังถั่วเขียว ณ ท่ามกลางที่
จงกรม เหมือนรูปปฏิมาทองคำ ยังส่วนแห่งวันให้ล่วงไปแล้วเข้าไปสู่บรรณ-
ศาลาในเวลาเย็น นอนแล้วที่เครื่องลาดทำด้วยไม้ข้างเตียงฟาก ให้สรีระรับ
อากาศแล้วตื่นในเวลาใกล้รุ่ง รำพึงถึงการมาของตนว่า เรานั้นเห็นโทษใน
ฆราวาส จึงละยศอันยิ่งใหญ่มีโภคะนับไม่ได้ เข้าไปสู่ป่า เป็นผู้แสวงหา
เนกขัมมะบวชแล้ว จำเดิมแต่นี้ไป เราไม่ควรประมาท เพราะว่า แมลงคือ
มิจฉาวิตกย่อมกัดกินผู้ละความสงบสงัด (ปวิเวก) เที่ยวไปอยู่ด้วยอาการ
อย่างนี้ บัดนี้ เราควรพอกพูนความสงบสงัด ด้วยว่า เราเห็นปลิโพธ
(ความกังวล) ของฆราวาสจึงออกมา ก็บรรณศาลานี้ เป็นที่ยังใจให้เอิบอาบ
มีภาคพื้นสิ่งแวดล้อมอันตกแต่งแล้ว มีสีเหมือนผลมะตูมสุก ทั้งฝาเล่า ก็ขาว
สะอาดดังแผ่นเงิน หลังคา บรรณศาลามีสีดังเท้านกพิราบ เตียงฟากน้อยก็มี
สีดังเครื่องลาดอันวิจิตร เราถึงฐานะอันเป็นเครื่องอยู่มีนิวาสอันผาสุก การถึง
พร้อมด้วยเคหะของเราย่อมไม่ปรากฏ เหมือนความเป็นภูมิประเทศอันยิ่งกว่า

บรรณศาลานี้ ดังนี้ แล้วตรวจดูซึ่งโทษทั้งหลาย ได้เห็นโทษในบรรณศาลา
8 อย่าง คือ

ต้องแสวงหาทัพสัมภาระ (เครื่องทำเรือน) ทั้งหลายด้วยเครื่อง
ประกอบมากมารวมกันแล้วกระทำ นี้เป็นโทษที่หนึ่ง. ต้องดูแลทัพสัมภาระ
มีหญ้าใบไม้และดินเหนียวที่ตกไปเหล่านั้นเป็นนิตย์ เพื่อให้ทัพสัมภาระเหล่า
นั้นดำรงอยู่ได้นาน เป็นโทษที่สอง. ขึ้นชื่อว่า เสนาสนะย่อมถึงความเก่าแก่
เมื่อต้องลุกขึ้นซ่อมแซมในกาลอันไม่เหมาะสม ความเป็นเอกัคคตาแห่งจิต
ก็ย่อมไม่มี ฉะนั้น ความที่ต้องลุกขึ้นซ่อมแซม จึงเป็นโทษที่สาม. ความที่
กายบอบบางต้องทำงานโดยกระทบกับความเย็นและร้อน เป็นโทษที่สี่. บุคคล
ผู้เข้าไปสู่เรือนแล้วสามารถจะทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น ความที่
เรือนเป็นเครื่องปกปิด จึงเป็นโทษที่ห้า. ความยึดถือว่า เรือนของเราดังนี้
เป็นโทษที่หก. ขึ้นชื่อว่าความมีเรือนอยู่นั้น ก็ย่อมมีผู้อยู่เป็นเพื่อน ดังนั้น
ข้อนี้จึงเป็นโทษที่เจ็ด. ความที่ต้องเป็นของสาธารณะมากมาย เพราะเป็นของ
ทั่วไปแก่เล็น เลือด จิ้งจกตุ๊กแกเป็นต้น เป็นโทษที่แปด.
พระมหาสัตว์เห็นโทษ 8 อย่างเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงละ
บรรณศาลา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่น
ด้วยโทษ 8 อย่าง เข้าสู่โคนไม้อันประกอบ
ด้วยคุณ 10 อย่าง
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราครั้นปฏิเสธเครื่องมุง (บรรณศาลา)
แล้วเข้าไปสู่โคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ 10 อย่าง ดังนี้.

โคนต้นไม้มีคุณ 10 อย่าง



ที่โคนต้นไม้นั้น มีคุณ 10 อย่างเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มิต้องริเริ่ม
(ไม่ต้องสร้างเหมือนเรือน) เป็นคุณข้อที่หนึ่ง. ที่โคนต้นไม้นั้น เป็นสักว่า
เข้าไปอยู่เท่านั้น ไม่ต้องปฏิบัติดูแล นี้เป็นคุณข้อที่สอง. ที่นั้นเป็นที่ให้
ประโยชน์บ้าง ไม่ให้ประโยชน์บ้าง ก็นับว่าเป็นที่ผาสุกสำหรับบริโภคนั่นแหละ
ความที่ไม่บำรุงรักษาเป็นคุณข้อที่สาม. โคนไม้นั้นย่อมไม่ปกปิดความติเตียน
เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความชั่วที่โคนไม้นั้น ย่อมละอาย ฉะนั้น ความที่ไม่
ปกปิดความติเตียน จึงเป็นคุณข้อที่สี่. ย่อมไม่ให้กายซบเซา ดุจอยู่กลางแจ้ง
ฉะนั้น การที่กายไม่ซบเซา จึงเป็นคุณข้อที่ห้า. ความไม่เป็นเหตุแห่งการ
ผูกพันเป็นคุณข้อที่หก. การห้ามความอาลัยในเรือน เป็นคุณข้อที่เจ็ด. ไม่มี
การให้ออกไป ด้วยคำว่า เราจักดูแลรักษาที่นั้น ท่านจงออกไป เหมือน
ในบ้านทั่วไปเป็นอันมาก เป็นคุณข้อที่แปด. ความได้ปีติของผู้อยู่ เป็นคุณ
ข้อที่เก้า. ความเป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่ที่ตนไปแล้ว ๆ เพราะความที่เสนาสนะคือ
โคนต้นไม้เป็นของหาได้ง่าย เป็นคุณข้อที่สิบ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า เราครั้นเห็นคุณ 10 เหล่านั้นแล้ว จึงเข้าไปสู่โคนไม้ ดังนี้.
พระมหาสัตว์กำหนดเหตุทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้แล้ว ในวัน
รุ่งขึ้น จึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่พระมหาสัตว์
ไปถึงนั้น ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. พระมหาสัตว์ ทำภัตกิจ
เสร็จแล้วกลับมาสู่อาศรมนั่งแล้ว คิดว่า มิได้บวชด้วยความคิดว่า เราจักไม่ได้
อาหาร ขึ้นชื่อว่า อาหารที่ดีนั่น ย่อมยังความเมาในการถือตนและเมาใน
ความเป็นบุรุษให้เจริญ ก็ความสิ้นทุกข์ที่มีอาหารเป็นมูล หามีไม่ ไฉนหนอ
เราพึงละอาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูก โดยเด็ดขาด แล้วถือ